- หลักการทำงานของอินเวอร์เตอร์
เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าคืออะไร
เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า หรือ Inverter เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่
การทำงานของเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า
เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าจะทำการแปลงพลังงานกระแสตรงที่ได้จาก
แบตเตอรี่หรือแผงเซลล์แสงอาทิตย์ แล้วเปลี่ยนรูปเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ
โดยการทำงาน ของวงจรสวิชชิ่งทรานซิสเตอร์ (Switching transistor)
ด้วยการเปิด-ปิดวงจรกระแสตรง ของทรานซิสเตอร์อย่างรวดเร็วรวมกับ
หม้อแปลงไฟฟ้า จะทำให้สามารถ แปลงไฟฟ้ากระแสตรงให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับแล้วจ่ายออกมาได้คุณภาพ และความซับซ้อนของ
เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าจะให้สัญญาณขาออกในลักษณะต่างกัน เช่น แบบ Square wave, แบบ Modified sine wave และ แบบ
Pure sine wave
ลักษณะของลูกคลื่นของไฟฟ้ากระแสสลับแบบต่างๆ
ชนิดของเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าสามารถจำแนกเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าตามลักษณะการใช้งานได้ดังนี้
เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าชนิดใช้งานอิสระ (Stand-alone inverter)
จะถูกนำไปใช้ในการติดตั้งในบริเวณที่ไม่มีระบบไฟฟ้าหรือมีปัญหาไฟฟ้าและจะต้องมีแบตเตอรี่สำรองไฟฟ้า โดยแบ่งตาม
สัญญาณขาออกได้ดังนี้
1. เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าประเภท Square wave จะทำการกลับขั้วแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงอย่างง่ายๆ 100, 120 ครั้งต่อ
วินาที (1 รอบประกอบด้วยแรงดันไฟฟ้าบนและล่าง) ทำให้เกิดความเพี้ยนของสัญญาณสูงมาก จึงไม่เหมาะที่จะใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า
ทั่วไป
2. เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าประเภท Modified sine wave สัญญาณขาออกเป็น 4 ระดับแรงดัน (voltage level) ต่อรอบ การจ่าย
สัญญาณขาออกเป็นลักษณะขั้นบันไดแม้สัญญาณจะไม่ดีเท่ากับระบบสายส่ง แต่ราคาถูกกว่า, ประสิทธิภาพสูงและนำไปใช้ได้กับ
อุปกรณ์ไฟฟ้ามาตรฐานส่วนใหญ่ เช่น ทีวี, วิทยุ, คอมพิวเตอร์และเตาไมโครเวฟ ฯลฯ รวมถึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับระบบเซลล์แสง
อาทิตย์ขนาดเล็ก แต่อาจไม่เหมาะกับอุปกรณ์ไฟฟ้าหรืออิเล็กทรอนิกส์บางชนิดที่ต้องการความละเอียด และ ความแม่นยำเช่น เครื่อง
มือ/อุปกรณ์ไร้สาย, เครื่องถ่ายเอกสาร, เครื่องพิมพ์เลเซอร์ ฯลฯ
3. เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าประเภท Sine wave ให้สัญญาณขาออกเป็นเส้นโค้งเรียบเสมอกัน จึงเรียกเป็น Pure sine
wave สัญญาณไฟฟ้าที่ได้ใกล้เคียงกับระบบสายส่งมาก เนื่องจากให้กำลังไฟฟ้ากระแสสลับที่คุณภาพดีที่สุด จึงทำงานได้ดีกับ
อุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสสลับต่างๆ เกือบทุกประเภท รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีมอเตอร์, ปั๊มน้ำ AC, เครื่องมือ อิเล็กทรอนิกส์ และ ใช้งานกับ
ระบบจ่ายไฟฟ้าภายในบ้านที่ขนาดใหญ่ขึ้น ผลที่ได้จากเครื่องชนิดนี้สูงถึง 256 ระดับแรงดันต่อรอบ เนื่องจากในระบบเซลล์แสง
อาทิตย์ เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าต่ออยู่กับแบตเตอรี่และอุปกรณ์ไฟฟ้า
เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าชนิดต่อเชื่อมระบบสายส่งการไฟฟ้า (Grid connected inverter)
การนำมาใช้เพื่อการอนุรักษ์พลังงานและติดตั้งในบริเวณที่มีระบบสายส่งเพื่อการต่อเชื่อม ด้วยหลักการพลังงานแสงอาทิตย์ที่
ได้จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ จะถูกนำเข้า เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าเพื่อแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ โดยติดตามสัญญาณไฟฟ้าใน
ระบบสายส่งตลอดเวลา ผลักดันกระแสไฟฟ้าให้ไหลกลับเข้าระบบสายส่ง ซึ่งช่วยลดค่าไฟฟ้า ในระบบรวมได้ ดังนั้น เครื่องแปลง
กระแสไฟฟ้าชนิดนี้จะต้องมีความซับซ้อนและการควบคุมสัญญาณไฟฟ้า Pure sine wave อย่างมาก ทั้งนี้ระบบไม่ต้องการแบตเตอรี่
เพื่อสำรอง ไฟฟ้า ในปัจจุบัน เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าได้ถูกผลิตขึ้นด้วยคุณสมบัติที่พร้อมสรรพสำหรับการใช้งาน รวมถึงสามารถต่อ
เชื่อมกับอุปกรณ์ภายนอกได้ คุณสมบัติที่ผนวกไว้ ภายใน เครื่อง เช่น ระบบประจุไฟฟ้าแบบ 3 ขั้นตอน ที่ช่วยให้ประจุแบตเตอรี่เต็มเร็ว
ขึ้น, สวิตช์การโอนย้าย (Transfer switch) เพื่อให้การโอนย้ายแหล่งพลังงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง, ติดตั้งวงจรตรวจวัดเพื่อปิดเครื่อง
โดยอัตโนมัติในกรณีที่ไม่สามารถจ่ายไฟฟ้าให้แก่อุปกรณ์ที่ใช้งานได้หรือแรงดันไฟฟ้าของแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงต่ำมากๆเพื่อ
ป้องกันไม่ให้
แบตเตอรี่จ่ายกระแสไฟฟ้ามากเกินไปนอกจากนี้ยังสามารถใช้โปรแกรมในการตรวจสอบสถานะและข้อมูลทางไฟฟ้าได้ด้วย ฯลฯ
หลังจากมีการแปลงกระแสไฟฟ้าให้ได้ตามความต้องการแล้วไฟฟ้าที่ได้นำไปใช้อย่างไร... ตอนต่อไปที่จะนำเสนอนั้นเป็นเรื่องราว
ของ "อุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับระบบเซลล์แสงอาทิตย์" แต่จะมีอุปกรณ์ไฟฟ้าใด และเลือก อย่างไร คุณจะได้ทราบอย่างแน่นอน
การเลือกเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าจึงควรพิจารณาดังนี้
เลือกเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าให้ตรงกับขนาดของแบตเตอรี่ที่ใช้ เช่น 12 V, 24 V 48 V และ 120 V ฯลฯ เลือกเครื่องแปลง
กระแสไฟฟ้าที่มีขนาดกำลังไฟฟ้า (จำนวนวัตต์) มากกว่าขนาดกำลังไฟฟ้ารวมของอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดที่ต้องใช้ในแต่ละครั้ง กรณีที่
ใช้กับอุปกรณ์ที่มีความเหนี่ยวนำ เช่น มอเตอร์ปั๊มน้ำเครื่องซักผ้า และเตาไมโครเวฟ ฯลฯ จะมีไฟกระชากเมื่อเริ่มเดินเครื่อง ดังนั้นต้อง
พิจารณาขนาดไฟกระชาก (Surge) สูงสุดด้วยหากจะกล่าวถึงประสิทธิภาพแล้ว พบว่ามีความแตกต่างกันตามอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้งาน
ในทางปฏิบัติ ประสิทธิภาพของเครื่องสูงสุดอยู่ที่ 60-80% ของขนาดเครื่องแปลง กระแสไฟฟ้า โดยตัวเครื่องเองต้องใช้กำลังไฟฟ้า
ในการเดินเครื่องด้วย จึงทำให้เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าขนาดใหญ่เมื่อนำไปใช้กับอุปกรณ์ ที่มีกำลังไฟฟ้าต่ำมากๆ1 จะ
มี ประสิทธิภาพต่ำ เช่น เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า 1 kW ใช้งานกับวิทยุขนาด 20 W อาจต้องใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ 30-40 W ทีเดียว
-
เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) เป็นอุปกรณ์สำหรับเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยการนำสารกึ่งตัวนำ เช่น ซิลิกอนซึ่งมีราคาถูกที่สุดและมีมากที่สุดบน พื้นโลก มาผ่านกร...
-
เครื่องควบคุมการประจุ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Charger controller บ้างก็ใช้ Charge regulator ชื่อก็บอกอยู่ชัดเจนว่าหน้าที่คือ ประจุไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผง เซลล์แสงอาทิตย์ลงในแบตเตอร...
-
แบตเตอรี่ แบตเตอรี่ (Battery) คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่จัดเก็บพลังงานเพื่อไว้ใช้ ต่อไป ถือเป็นอุปกรณ์ที่สามารถแปลงพลังงานเคมีให้เป็นไฟฟ้าได้โดยตรง ด้วยการใช้เซลล์กัลวานิก (galvanic ...
-
โซลาร์เซลล์ (SOLAR CELL) 1. อยากติดโซลาร์เซลล์ที่บ้าน เพื่อลดค่าไฟฟ้าจะคุ้มหรือไม่ จุดคุ้มทุนกี่ ปี่? ตอบคุ้มแน่นอนครับ เมื่อคืนทุน 7-9 ปีในการช่วยลดค่าไฟฟ้า ด้วยอายุการ ทำงานของแ...
-
การเลือกใช้งานไฟฟ้าอย่างเหมาะสม สายไฟมีหน้าที่เป็นตัวนำไฟฟ้าโดยที่เป็นโลหะหรือวัสดุที่ยอมให้ กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ดีหรือเป็นสื่อในการส่งกระแสไฟฟ้าจากที่หนึ่ง ไปอีกที่หนึ่ง เปรีย...
-
Energy Meter ( Watt hour meter ) การวัดและเครื่องวัดพลังงาน เมื่อเราคำนวณกำลังที่สูญเสียในโหลดในช่วงเวลาที่กำหนดเราจะได้รับ พลังงานงานที่ใช้ไปซึ่งเขียนได้ในรูป เมื่อวัดช่ว...
-
Grid Tie Inverter ระบบ On Grid System หรือ Grid Tie Inverter เป็นระบบที่เชื่อมต่อโซ ล่าเซลล์เข้ากับสายส่งไฟฟ้าเพื่อขายไฟฟ้าคืนให้การไฟฟ้าหรือช่วย ประหยัดค่าไฟฟ้าได้ อุปกณ์ที่เกี่ยว...
-
โซล่าเซลล์ (Solar cell) โซล่าเซลล์ คืออุปกรณ์สำหรับเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็น พลังงานไฟฟ้า โซล่าเซลล์จะมีประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าสูงที่สุดในช่วง เวลากลางวัน พลังงานไฟฟ้าที...
-
หลักการทำงานและชนิดของ UPS เข้าชมสินค้าได้ที่นี่ รุ่นขนาด 1Kw , รุ่นขนาด 2Kw , รุ่นขนาด 3Kw , รุ่นขนาด 6Kw ตามมาตรฐาน EN 50091-3 / IEC 62040-3 สามารถแบ่ง UPS ออกเป็น ...
-
คำถามเรื่องไฟฟ้าที่คุณอยากรู้ - สาระน่ารู้ เพื่อที่อยู่อาศัย ในชีวิตประจำวันของคนเรา ส่วนใหญ่ต้องใช้ไฟฟ้าเป็นแหล่ง พลังงานสำคัญในการดำเนินชีวิต แต่มีคนจำนวนไม่มากนักที่จะให้ควา...
-
Power Factor (PF.) คืออะไร? สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม อาคารขนาดใหญ่หรือผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีการใช้ไฟฟ้าระบบ 3 เฟสที่มีการใช้กำลังงานมากกว่า 30 kW ขึ้นไปในบิลเรียกเก็บค่าไฟฟ้าที่ได้รับใน...
-
ความหมายของ IP (Ingress Protection) ความหมายของระดับการป้องกันที่ใช้กัน หรือ IP (Ingress Protection) เป็น ค่าที่กำหนดค่ามาตรฐานของอุปกรณ์ไฟฟ้านั้นๆ ในการป้องกันอันตราย จาก ของแข็ง...
-
การคำนวณปริมาณไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ตัวอย่างบ้านหลังหนึ่ง ใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าดังนี้ 1.หลอดฟลูออเรสเซนต์18วัตต์ 2หลอดรวม 36วัตต์แต่ละ หลอดใช้ไฟฟ้า ทั้งหมด6ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้า...
-
สูตร การคำนวณค่าทางไฟฟ้ากระแสสลับ A = KW x 1000 / Vx P.F. (1 Phase) A = KW x 1000 / 1.732 x Vx P.F. (3 Phase) KW. = A x V x P.F. / 1000 (1 Phase) KW. = A x V x 1.732 x P.F. / 100...